Urban Data Download

information by UDDC

GoodWalk Database

Overview

Description

ฐานข้อมูลเมืองเดินได้-เดินดี (GoodWalk Database) : เป็นข้อมูลและผลผลิตของโครงการเดินได้-เดินดี ซึ่งผ่านการรวบรวมและสำรวจข้อมูลโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งดำเนินการศึกษาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2557-2561 การแสดงผลของข้อมูลชุดนี้จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ชุดข้อมูล คือ ชุดข้อมูลดัชนีการเดินได้ (GoodWalk Map) และชุดข้อมูลสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เกี่ยวกับเดิน (GoodWalk Data)

    1. ชุดข้อมูลดัชนีการเดินได้ (GoodWalk Map) : เป็นดัชนีชี้วัดศักยภาพการเดินได้ของกรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพการเข้าถึงสาธารณูปการต่างๆของเมือง อาทิ แหล่งงาน สถานศึกษา แหล่งจับจ่ายใช้สอย พื้นที่นันทนาการ สถานที่บริการสาธารณะและธุรกรรม และสถานที่ขนส่งสาธารณะด้วยการเดินเท้า แสดงผลข้อมูลใน 4 ระดับคือ ระดับเมือง ระดับเขต ระดับแขวง และระดับพื้นที่

        1) ข้อมูลแผนที่ดัชนีการเดินได้ของกรุงเทพมหานคร (Heatmap Bangkok) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยใช้สีโทนเย็น (เขียวเข้ม) บ่งชี้ถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินได้ดี และสีโทนร้อน (แดง) บ่งบอกพื้นที่มี่ศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินเท้าต่ำ

        2) ข้อมูลแผนที่ดัชนีการเดินได้ของกรุงเทพมหานครเฉลี่ยรายเขต (Choropleth map District) แบ่งออกเป็น 5 ระดับโดยใช้สีโทนเย็น (เขียวเข้ม) บ่งชี้ถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินได้ดี และสีโทนร้อน (แดง) บ่งบอกพื้นที่มี่ศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินเท้าต่ำ

        3) ข้อมูลแผนที่ดัชนีการเดินได้ของกรุงเทพมหานครเฉลี่ยรายแขวง (Choropleth map Subdistrict) แบ่งออกเป็น 5 ระดับโดยใช้สีโทนเย็น (เขียวเข้ม) บ่งชี้ถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินได้ดี และสีโทนร้อน (แดง) บ่งบอกพื้นที่มี่ศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินเท้าต่ำ

        4) ข้อมูลแผนที่ดัชนีการเดินได้ของกรุงเทพมหานครในพื้นที่หกเหลี่ยมเฉลี่ย 500 เมตร (Hexagon Map) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยใช้สีโทนเย็น (เขียวเข้ม) บ่งชี้ถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินได้ดี และสีโทนร้อน (แดง) บ่งบอกพื้นที่มี่ศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินเท้าต่ำ


    2. ชุดข้อมูลสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เกี่ยวกับเดิน (GoodWalk Data) : ซึ่งได้จากการสำรวจข้อมูลภาคสนาม เป็นข้อมูลสภาพแวดล้อมของเมืองและองค์ประกอบถนน ในรูปแบบของข้อมูลตำแหน่ง และข้อมูลเชิงเส้น ของโครงการเมืองเดินได้-เดินดีในปี พ.ศ. 2560 ในพื้นที่ปทุมวัน-บางรัก โดยแบ่งออกเป็น 3 ชุดข้อมูล คือ ชุดข้อมูลด้านความปลอดภัย (Safety) ชุดข้อมูลด้านความสะดวกสบาย (Convenience) และชุดข้อมูลด้านความมีชีวิตชีวา (Livability)

        1) ข้อมูลด้านความปลอดภัย (Safety) คือ ตำแหน่งของอุปกรณ์ประกอบถนนที่เอื้อต่อความปลอดภัยของคนเดินเท้า จากการสำรวจข้อมูล (GoodWalk Data) ประกอบด้วย ข้อมูลอุปกรณ์ชะลอความเร็ว (Street Calming), ป้ายบอกทาง (Signal), ไม้พุ่มเตี้ย (Landscape Strip), ผิวทาง (Pavement), ทางข้าม (Crossing), โคมไฟส่องสว่างทางเดินเท้า (Lighting) , รั้ว (Fence) และ ประตู (Door)

        2) ข้อมูลด้านความสะดวกสบาย (Convenience) คือ ตำแหน่งอุปกรณ์ประกอบถนนที่ส่งเสริมให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินเท้า จากการสำรวจข้อมูล (GoodWalk Data) ประกอบด้วย ทางม้าลาย (Street Crossing), อุโมงค์ทางลอด (Tunnel), ความกว้างทางเดินเท้า (Width of Sidewalk), ทางเดินที่มีหลังคาคลุม (Cover Walkway), จุดเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะ (Node of Public Transport), และ อุปกรณ์ประกอบถนน (Street Furniture) ได้แก่ เก้าอี้/ถังขยะ/โคมไฟส่องสว่างรถยนต์

        3) ชุดข้อมูลด้านความมีชีวิตชีวา (Livability) คือ ตำแหน่งอุปกรณ์ประกอบถนนที่ส่งเสริมให้เกิดความมีชีวิตชีวาในการเดินเท้า จากการสำรวจข้อมูล (GoodWalk Data) ประกอบด้วย ต้นไม้ (Tree), ประติมากรรม (Landmark), ไม้พุ่มเตี้ย (Landscape Strip)

4 Datasets

Goodwalk Map

ข้อมูลดัชนีชี้วัดศักยภาพการเดินได้ของกรุงเทพมหานคร ผ่านการศึกษาศักยภาพการเข้าถึงสาธารณูปการต่าง ๆ ของเมือง อาทิ แหล่งงาน สถานศึกษา แหล่งจับจ่ายใช้สอย พื้นที่นันทนาการ สถานที่บริการสาธารณะและธุรกรรม และสถานที่ขนส่งสาธารณะด้วยการเดินเท้า ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลได้ 4 ระดับคือ ระดับเมือง ระดับเขต ระดับแขวง และระดับพื้นที่

  • ZIP

ข้อมูลด้านความปลอดภัย (Safety)

ชุดข้อมูลตำแหน่งอุปกรณ์ประกอบถนนที่เอื้อต่อความปลอดภัยของคนเดินเท้า ประกอบด้วย ข้อมูลอุปกรณ์ชะลอความเร็ว (Street Calming) ป้ายบอกทาง (Signal) ไม้พุ่มเตี้ย (Landscape Strip) ผิวทาง (Pavement) ทางข้าม (Crossing) โคมไฟส่องสว่างทางเดินเท้า (Lighting) รั้ว (Fence) และ ประตู (Door)

  • ZIP

ข้อมูลด้านความสะดวกสบาย (Convenience)

ชุดข้อมูลตำแหน่งอุปกรณ์ประกอบถนนที่ส่งเสริมให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินเท้า ประกอบด้วย ทางม้าลาย (Street Crossing) อุโมงค์ทางลอด (Tunnel) ความกว้างทางเดินเท้า (Width of Sidewalk) ทางเดินที่มีหลังคาคลุม (Cover Walkway) จุดเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะ (Node of Public Transport) และอุปกรณ์ประกอบถนน (Street Furniture)

  • ZIP

ข้อมูลด้านความมีชีวิตชีวา (Livability)

ชุดข้อมูลตำแหน่งอุปกรณ์ประกอบถนนที่ส่งเสริมให้เกิดความมีชีวิตชีวาในการเดินเท้า ประกอบด้วย ต้นไม้ (Tree) ประติมากรรม (Landmark) และไม้พุ่มเตี้ย (Landscape Strip)

  • ZIP

About this dataset

CREATED
01-02-2020
DICTIONARY
4 datasets